MET 241 กลศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Mechanics) 3(3-0-6)

วิชาเลือกหัวข้อพิเศษทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม | รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : ไม่มี | รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน : ไม่มี

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ. 4 ปี) สาขาเทคโนโลยีเครื่องกล ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2560

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

วันและเวลาเรียน : พุธ เวลา 13.30 - 16.30 น. (online)

ช่องทางอื่นของรายวิชา : google classroom

รายวิชานี้คืออะไร สำคัญอย่างไร และเกี่ยวข้องกับอะไร?

กลศาสตร์วิศวกรรมเป็นรายวิชาพื้นฐาน (fundamental subject) ในสาขากลศาสตร์วิศวกรรมที่จะช่วยให้เราตอบคำถาม 2 คำถามที่ว่า เราจะอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น และทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาได้อย่างไร? และ เราจะประยุกต์ใช้สิ่งที่เรารู้และเข้าใจเพื่อออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร? รายวิชานี้มุ่งเน้นการตอบคำถามแรก

แล้วเหตุใดเราจึงต้องเรียนวิชานี้? เราอยู่ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามนวัตกรรมโดยเฉพาะสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องจักรกลต่าง ๆ เราศึกษาและเรียนรู้จากธรรมชาติด้วยวิทยาศาสตร์ (science) เพื่อจะได้นำสิ่งที่เรารู้และเข้าใจมาอธิบายความเป็นไปของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นและก็ประยุกต์ใช้สิ่งที่รู้เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือเครื่องจักรกลเหล่านั้น

วิชานี้จะแนะนำองค์ความรู้พื้นฐานและทักษะสำคัญที่จะใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัวเราและใช้เป็นฐานเพื่อศึกษาในรายวิชาหรือเนื้อหาในระดับสูงถัดไป ผู้เรียนจะเรียนรู้และรับประสบการณ์การวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับสถิตยศาสตร์ (ว่าด้วยวัตถุที่หยุดนิ่ง) และพลศาตร์ (ว่าด้วยวัตถุที่เคลื่อนที่) โดยอาศัยมโนทัศน์ หลักการ ทฤษฎี และกฎสำคัญ นอกจากนี้เพื่อให้เรียนรู้ได้อย่างราบรื่นและลึกซึ้งเราต้องอาศัยความเข้าใจพื้นฐานด้านฟิสิกส์พื้นฐานรวมกับองค์ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์

คุณจะเรียนรู้เนื้อหาอะไรบ้าง?

ปรากฏการณ์ทางกลศาสตร์วิศวกรรมในชีวิตประจำวันมีมูลเหตุ (cause) ทำให้เกิดขึ้น คือ แรง (force) โมเมนต์ของแรง (moment of force) และพลังงาน (energy) ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมูลเหตุเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจผล (effect) ที่เกิดขึ้นทางกลศาสตร์วิศวกรรมและสามารถแก้ปัญหาที่เราพบได้

คุณจะได้เรียนรู้ในสิ่งต่อไปนี้ : ความสัมพันธ์เชิงตรรกะของกลศาสตร์วิศวกรรม มโนทัศน์และแบบจำลองทางอุดมคติในกลศาสตร์วิศวกรรม กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ปริมาณทางฟิสิกส์ แรงและระบบแรง ผลลัพธ์ของแรงและระบบแรง ระบบแรงสมมูล การสมดุลและงานเสมือน การเคลื่อนที่ งานและพลังงาน อิมพัลซ์และโมเมนตัม สมบัติของหน้าตัดของวัตถุ ทั้งหมดถูกจัดแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

หัวข้อ

เส้นทางกลศาสตร์วิศวกรรมและมโนทัศน์สำคัญ : วิทยาการกลศาสตร์วิศวกรรม จุดหมายสาขากลศาสตร์ของแข็ง บทบาทและหน้าที่กลศาสตร์ของแข็ง มโนทัศน์พื้นฐาน (อนุภาค ระบบของอนุภาคหรือวัตถุ และวัตถุแข็งเกร็ง)

ความสัมพันธ์ระหว่างมูลเหตุและผล : สมมติฐาน แบบจำลองทางอุดมคติ กฎพื้นฐานทางกลศาสตร์วิศวกรรม(การเคลื่อนที่ของนิวตัน)  และความถูกต้องทางวิศวกรรม

ปริมาณทางฟิสิกส์ : ประเภทปริมาณ กรอบอ้างอิงและระบบพิกัด การจัดดำเนินการ การแสดงเพื่อสื่อความหมาย หน่วยและระบบหน่วย คำอุปสรรคและการเลือกใช้ การแปลงหน่วย

ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาทางวิศวกรรม : การทำความเข้าใจสภาพปัญหา การระบุสาระสำคัญในปัญหา (การแทนสถานการณ์ด้วยภาพ ด้วยกราฟหรือแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และด้วยคณิตศาสตร์) การกำหนดแผนการแก้ปัญหา การค้นหาคำตอบ การยืนยันหรือทวนสอบความถูกต้องตามหลักฟิสิกส์/วิศวกรรม

แรงและผลลัพธ์ของแรง (มูลเหตุ) : แรงและระบบแรง ผลลัพธ์ของแรงและระบบแรง แรงกระจายและแรงสมมูล และภาระปฏิกิริยาของจุดรองรับ

การสมดุลของวัตถุ (ผล) - Statics : สมการสมดุลทั้ง 2 และ 3 มิติสำหรับปัญหาภาระภายใน ปัญหาโครงสร้างและเครื่องจักร ปัญหาการเสียดทาน และงานเสมือน

การเคลื่อนที่ของวัตถุ (ผล) - Dynamics : รูปแบบการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่สัมบูรณ์และสัมพัทธ์ งานและพลังงาน อิมพัลซ์และโมเมนตัม สำหรับปัญหา 2 มิติ และ 3 มิติ

สมบัติเชิงรูปร่างและรูปทรงของวัตถุ : สมบัติเชิงรูปร่าง (พื้นที่ จุดศูนย์กลางรูป โมเมนต์ของพื้นที่ และโมเมนต์ความเฉื่อยของพื้นที่) และสมบัติเชิงรูปทรง (ปริมาตร จุดศูนย์กลางความโน้มถ่วง โมเมนต์ความเฉื่อยเชิงมวล)

สิ่งที่คุณจะสามารถทำได้เมื่อเรียนสำเร็จรายวิชานี้แล้ว

หลังจากเรียนจนสำเร็จรายวิชานี้แล้ว คุณจะสามารถ...

CLO-1 : เชื่อมโยง (relate) ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันโดยใช้มโนทัศน์ หลักการ ทฤษฎี และกฎทางกลศาสตร์วิศวกรรม และระบุชัด (express) ในความสัมพันธ์ดังกล่าวด้วยการอธิบายและ/หรือคณิตศาสตร์

CLO-2 : อธิบาย (explain) วิธีการที่ปริมาณทางฟิสิกส์ควบคุมการเกิดขึ้นและการเป็นไปของปรากฎการณ์ในรูปมูลเหตุและผล และจัดดำเนินการ (operate) ปริมาณทางฟิสิกส์เหล่านี้เพื่อแสดงความหมายทางกายภาพ

CLO-3 : วิเคราะห์ (analyze) แรงและระบบแรง และผลลัพธ์ของแรงและระบบแรง 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อระบุลักษณะเฉพาะของมูลเหตุที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์ทางกลศาสตร์วิศวกรรมในชีวิตประจำวัน

CLO-4 : ประยุกต์/ใช้ (apply/use) มโนทัศน์ หลักการ ทฤษฎี กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน หรือกฎในรูปงานและพลังงาน อิมพัลส์และโมเมนตัม ร่วมกับขั้นตอนการคิดแก้ปัญหาเพื่อแก้ปัญหาการสมดุลและการเคลื่อนที่ทางกลศาสตร์วิศวกรรมในชีวิตประจำวันใน 2 มิติ และ 3 มิติ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

งานมอบหมายเพื่อการเรียนรู้

ดูที่ google classroom

แนวทางการประเมิน เครื่องมือประเมิน และการตัดเกรด 

ดูรายละเอียดได้ที่หน้า...ผลลัพธ์การศึกษาและมาตรฐานการประเมิน

เอกสารประกอบการสอน (เตรียมโดยผู้สอน)

ดูที่ google classroom

เอกสารประกอบการสอน/การเรียนรู้เพิ่มเติม

  • ที่มา https://eis.hu.edu.jo/acuploads/10526/ch%205.pdf
  • ที่มา https://eis.hu.edu.jo/acuploads/10526/ch%205.pdf
  • ...
  • ...